วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6

1.ให้สรุปความหมายของการสั่งการมาพอเข้าใจ

การสั่งการมาจากคำว่าการอำนวยการซึ่งหมายถึง การจัดการของผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ชี้แนะ บุคคล การนิเทศงาน และการติดตามผล เพื่อให้งานดำเนินไปตามแผนหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

2. ขั้นตอนการสั่งการหรือการอำนวยการมีอะไรบ้าง

1.ด้านการวางแผน: มีส่วนในการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดลักษณะงาน ช่วยตีความนโยบายขององค์การให้บุคลากรทราบ พัฒนาสิ่งใหม่ ปรับปรุงระบบและวิธีปฏิบัติให้ดีขึ้น

2.ด้านการจัดองค์การ: มอบหมายงาน แบ่งงาน กำหนดมาตรฐานงาน กำหนดสายบังคับบัญชาและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดูแลการปฏิบัติงาน

3.ด้านการปฏิบัติการของผู้อานวยการ: กำหนดการเปลี่ยนแปลงบุคคล ประเมินผลการปฏิบัติแต่ละคน ฝึกบุคคลไว้ทดแทน ดูแลความสัมพันธ์และขวัญแก่บุคลากร ศึกษาความจำเป็นและต้องการของบุคลากร

4.ด้านการควบคุม: ติดตามวิธีการและขบวนการปฏิบัติ กำหนดมาตรฐานสำหรับงานแต่ละอย่าง วัดผลผลิต ตรวจสอบความถูกต้องและปริมาณงาน


3. องค์ประกอบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง
1.ความเป็นผู้นำ เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นำ 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย

2.การจูงใจ มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอำนวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทำงาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่ ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต

3. การติดต่อสื่อสาร เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอำนวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี2 ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง

4. องค์การและการบริหารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน


4. ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการสั่งการกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มาอย่างน้อย 5 ข้อ

1.มีความชัดเจน
2. มีการวางเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจนทำให้ผลงานออกมาดี
3.มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
4.ห้องเรียนไม่ได้มีแต่ในโรงเรียน
5.ทำให้มีแนวคิด อีกด้านหนึ่งที่อาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

1.อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
1. การจัดหาสื่อประเภทต่างๆ ไว้สำหรับบริการ
2. การผลิตสื่อเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
3. การจัดระบบ จัดเก็บ แยกหมวดหมู่และจัดทำทะเบียน
4. การบริการให้ยืมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์
5. การให้คำปรึกษา แนะนำการใช้และการผลิตสื่อ
6. การวิจัยและพัฒนาสื่อ

2.ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จะประกอบด้วยบุคคลด้านต่างๆดังนี้
1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทำ โดยต้องมีฝ่ายรับผิดชอบ ดังนี้
1.1 หัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า หัวหน้าศูนย์หรือผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ก็ได้
1.2 หัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่าย จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบงานในแต่ละฝ่าย
1.3 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการจัดการงานต่างๆ
1.4 พนักงานธุรการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านต่างๆ
1.5 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลต่างๆลงในคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์เอกสาร
2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นำโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย
2.1 บรรณารักษ์ โดยจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา
2.2 นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตั้งการใช้คอมพิวเตอร์
2.3 นายช่างอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรักษา ติดตั้ง
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
2. ด้านการผลิตสื่อ บุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอนในระดับต่างๆ
นักวิชาการช่างศิลป์ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านการออกแบบภาพประเภทต่างๆ
3. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า
4. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญ
5. ด้านกิจกรรมอื่น เช่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชนจัดนิทรรศการหรือจัดการแสดงความก้าวหน้าต่างๆ

3.ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภท3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. บุคลากรทางวิชาชีพ ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางที่อาจเรียกว่านักวิชาการการโสตทัศนศึกษาก็ได้
2 บุคลากรกึ่งวิชาชีพ บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิค
หรือด้านบริการ
3 บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ บุคลากรประเภทนี้ทำหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

4.ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสำรวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสำรวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา1.การสำรวจสื่อวัสดุ 2. การสำรวจเครื่องมือ
ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจสถานที่ เป็นขั้นตอนการสำรวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทำกิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง
ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช
ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นการจัดหา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทำเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป

5.อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สำคัญ อะไรบ้าง
1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีแหล่งที่จำหน่ายโสตทัศนูปกรณ์แต่ละประเภทไว้สำหรับเป็นข้อมูลในการจัดซื้อ
2.ผู้ทำหน้าที่ในการจัดหาสื่อ ควรไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือจากแหล่งร้านค้า เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสื่อและจะได้มีโอกาสศึกษาจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้นโดยตรง
3.ควรสำรวจราคาของสื่อแต่ละประเภทเป็นระยะๆเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณ

6.การบริหารงานบุคคลหมายถึง
ศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์การ มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์ฯ หรือหน่วยงานเป็นสำคัญ

7.หลักการบริหารงานบุคคลมี 2 ระบบ คือ
1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการคุณ

8.การจำแนกตำแหน่ง จำแนกได้ 3 ประเภท คือ
1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือ ลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ
2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
3.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classificationจำแนก ตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์

9.ขั้นตอนของกระบวนการวางแผนกำลังคน ได้แก่
1. ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกำลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ
2.การตรวจสภาพกำลังคน; ค้นหาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสภาพกำลังคนที่มีอยู่ในองค์การ
3.การพยากรณ์ความต้องการกำลังคน คล้ายกับการตรวจสภาพกำลังคน แต่การพยากรณ์มุ่งเน้นอนาคต
4.การเตรียมหาคนสำหรับอนาคต

10.การงานแผนกำลังคนที่ดีต้องทราบสาระดังนี้
1. ภาระงาน หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
2. การออกแบบงาน เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
3. การวิเคราะห์งาน วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นแต่ละตำแหน่ง
4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
6. การทำให้งานมีความหมาย เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน

11.บุคลากรด้านทรัพยากรการเรียนรู้มี 3 ประเภท
1.ด้านบริหาร โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ
2.ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์สื่อการศึกษาที่นำโครงการต่างๆออกสู้กลุ่มเป้าหมาย
3.บุคลากรด้านการผลิตสื่อ

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3-4-5 รายวิชา 423312 Learning Resources Center Management

คำสั่ง : ให้นิสิตเขียนอธิบายคำตอบตามเงื่อนไขต่อไปนี้

1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย

3 ประเภท การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย

เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสที่จะได้เรียนรู้ ตามความเหมาะสมของผู้เรียนเองโดยมีของเขตของการศึกษา และจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละบุคคล

2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

การศึกษาในระบบโรงเรียนเป็นการศึกษาที่กำหนดมุ่งจุดหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินซึ่งเป็นเงื่อนไขที่แน่นอน

การศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นการจัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัยได้รับการเรียนรู้พื้นฐาน ทักษะการประกอบอาชีพมีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายโดยเนื้อหาจะมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของผู้เรียน

และการศึกษาตามอัธยาศัยการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ความพร้อม โอกาส ไม่มีหลักสูตรและสามารถเรียนได้ตลอดเวลา

3. ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง

ศูนย์การเรียนรู้ในระบบ

หอสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล เป้าหมาย ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ http://www.li.mahidol.ac.th/

หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา เป้าหมาย ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ http://www.lib.buu.ac.th/

ห้องเรียนสีเขียว เป้าหมาย เป็นการส่งเสริมให้รู้จักการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด http://www.act.ac.th/act_greenroom/project.html

ศูนย์การเรียนรู้นอกระบบ

ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และศิลปาชีพภาคกลาง เป็นการเรียนรู้เรื่องความพอเพียง

http://www.padoong.com/

ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำในทะเล และพืชในทะเล http://www.bims.buu.ac.th/j3/

ศูนย์การเรียนรู้ สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรชนิดต่างๆ http://www.tungsong.com/samunpai/defualt.asp

ศูนย์การเรียนรู้ตามอัธยาศัย

ศูนย์จีนศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของจีน

http://www.chin.buu.ac.th/

ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารและอื่นๆ

http://www.oldchiangmai.com/

ศูนย์ศิลปะชีพ บางไทร เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับหัตกรรมพื้นบ้าน

http://www.moohin.com/010/010m003.shtml

4. ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดัง รายละเอียดต่อไปนี้

มิวเซียมสยาม

นโยบาย : เน้นกระบวนการเรียนรู้หาความรู้ที่มีความเคลื่อนไหวมากกว่าการเป็นสถาบันที่แข็งตัว ปิดโอกาส ให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม มีการเชื่อมโยงออกสู้ชุมชนบ้านโรงเรียน ใช้ การสื่อสารออกไปสู่สภาพแวดล้อมภายนอก

วิสัยทัศน์ :เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้เรื่องความเป็นมาของบ้านเมือง จนมาเป็นประเทศไทยใน ปัจจุบัน เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ สร้างสำนึกรักบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน รวมทั้ง เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นองค์ความรู้ที่ นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค

กลุ่มเป้าหมาย : เป้าหมายหลักคือคนไทย ประกอบด้วย เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยวต่างประเทศ

5. ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้

โครงสร้างองค์กรพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ประเภท : การศึกษาตามอัธยาศัย เพราะการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส

แหล่งที่มา : http://www.nsm.or.th/nsm2009/index.php?option=com_nsmcontents&views=article&id=16&Itemid=22

โครงสร้างองค์กรพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

ประเภท : การศึกษาตามอัธยาศัย เพราะการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส

แหล่งที่มา : http://www.bims.buu.ac.th/j1/index.php?option=com_content&task=view&id=77&Itemid=90